รูบิค

วิธิการเล่นรูบิค


ขั้นที่ 1 ทำสีด้านใดหน้าหนึ่งให้ได้ทั้งหมด สีที่ติดกับด้านที่ทำเสร็จเป็นรูปตัว T (แบบหางขาดนิดๆ) ดังรูป

ขั้นที่ 2 ทำชั้นที่ 2 ให้เสร็จ จะได้ดังรูป



สำหรับตัวผมสามารถคิดได้เองถึงขั้นนี้แหละครับ

ขั้นที่ 3 ทำให้มุมที่อยู่ด้านตรงข้ามด้านที่เสร็จแล้วอยู่ในมุมที่ถูกต้อง


หลายคนอาจจะงงครับว่าขั้นตอนนี้คืออะไรก็ขออธิบายง่ายๆ จากรูปที่มีเลย ด้านล่าง(ก้นรูบิค) คือด้านที่ทำเสร็จแล้วครับดังนั้นเราจะต้องทำมุม 4 มุมซึ่งเป็นมุมที่ตรงข้ามกับด้านที่ทำเสร็จแล้ว(ในรูปจะมีมุมสีส้มอ่อน 2 มุมและด้านหลังอีก 2 มุมที่ไม่ได้ลงสี) ให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องครับจะขออธิบายรูปแบบที่ถูกต้องดังนี้ จากรูปจะเห็นว่ามีสีทีี่่ประจำ 3 ด้านอยู่่สามสี นั่นคือสีส้มสีขาวและสีเขียวดังนั้นทั้ง 4 มุมที่ว่านั้นขอให้มีสามสีนี้เป็นองค์ประกอบก็พอครับแต่จะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ได้ ดังรูป



ขั้นที่ 4 ทำมุมให้มีสีให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและทำให้เข้ารูปแบบเพื่อให้ง่ายในขั้นตอนสุดท้ายการทำให้มุมมีสี 4 มุมที่ขั้นที่แล้วมีสีที่ถูกต้องจะได้ดังรูปครับ



จากนั้นมาดูตรงกลางของหน้าสุดท้ายกัน ถ้ามีสีตรงกันในทุกๆหน้า(4 มุมในขั้นตอนที่แล้ว)ก็จบในขั้นตอนนี้แต่ถ้าไม่เป็นดังนั้น หาด้านที่มีสีที่ตรงกับด้านที่หันหน้าให้ตัวเรา (แบบไหนก็ได้ - สีไหนก็ได้ขอให้ตรงด้านก็พอ)




ในรูปสีส้มถือว่าตรง จากนั้นก็หมุน


ขั้นที่5 ตรงรูปแบบใดก็หมุนตามสูตรที่ให้ได้เลยครับ




วิธีการทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด

1. เปิด Microsoft word ขึ้นมาและสมมติ ว่าในตัวอย่าง จากรู้ข้างล่างนี้ จะเห็นว่าเอกสารนั้น ก็มีข้อความอยู่เหมือนเอกสารทั่วๆ ไป แต่สมมติกว่า ต้องการที่จะแก้ไขให้ส่วนที่เป็นหัวข้อนั้น เด่นขึ้นมา โดยตั้งใจว่า จะทำการเปลี่ยน Font เป็น Arial ขนาด 14 และเป็นตัวหนา แต่ถ้าโดยปกติ คุณก็ต้องทำตาม 3 ขั้นตอนนี้ กับทุกๆ หัวข้อคือไปทำ Select ที่หัวข้อนั้นๆ แล้วก็จัดการเปลี่ยน Font ต่างๆ ตามที่ต้องการ ... แต่คงไม่สนุกแน่ๆ หากมีหัวข้อต่างๆ ที่ให้คุณต้องการเปลี่ยน หลายๆ ตัว ดังนั้น บทความนี้ เราจะมาดูวิธีการสร้างแมโคร กัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการทำงาน เพราะว่า คุณสามารถ สั่งให้โปรแกรมทำงานต่างๆ พวกนี้แทนคุณได้ 2. วิธีการก็คือ ให้คุณทำ Select ข้อความที่เป็นหัวข้อไว้ก่อน ดังรูปข้างล่างนี้

3. ให้คุณเข้าไปที่เมนู Tools -> Macro -> Record New Macro... ดังรูปข้างล่างนี้

4. จากนั้นจะมีหน้าจอดังรูปข้างล่างนี้ ก็ให้คุณกำหนดชื่อของแมโครนี้ ซึ่งในตัวอย่างนี้ กำหนดเป็น ChangeFont จากนั้นกด OK ได้เลย (สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเป็น Shortcut Key คุณต้องกดปุ่ม Keyboard เพื่อเข้าไปทำการ กำหนดว่า จะให้ใช้ Shortcut



5. และในระหว่างนี้ โปรแกรม จะทำการบันทึกการทำงานของคุณ ให้สังเกตุจากรูปข้างล่างนี้ว่า จะมีเครื่องมือ ที่ให้ หยุดการบันทึก ซึ่งเป็นรูปสี่เหลื่ยม และอีกปุ่มก็เป็นการหยุดการบันทึก แบบชั่วคราว


และหน้าที่ของคุณตอนนี้คือว่า ให้คุณทำการเปลี่ยน Font เป็น Arial ขนาด 14 และเป็นตัวหนา ให้เรียบร้อย ซึ่งโปรแกรมจะทำการบันทึก การทำงานต่างๆ ของคุณลงแมโครที่ชื่อว่า ChangeFont เมื่อเสร็จแล้ว ให้กดปุ่มดังรูปข้างล่างนี้ เพื่อทำการหยุดการบันทึกแมโคร ก็เป็นอันว่าเรียบร้อย งานทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ก็จะถูกบันทึกลงแมโครชื่อ ChangeFont เรียบร้อย


6. วิธีการเปิดแมโครที่สร้างขึ้นมา ให้อยู่บน Toolbar ต่อไปเราก็มาดูวิธีการนำเอาแมโครที่เราสร้างนี้มาใช้น ก็คือให้คุณคลิกขวาที่ Toolbar เมื่อเกิดเมนูขึ้นมาดังรูปข้างล่างนี้ ให้คุณคลิกที่ Customize


เมื่อถึงขั้นนี้ให้คุณเข้าไปที่ส่วนของ Commands และทางฝั่ง Categories: ให้คุณเลือก Macros คุณจะเห็นว่าฝั่ง Commands: นั้นจะมีแมโครต่างๆ ที่คุณได้สร้างขึ้นมา (และในที่นี้ คุณจะเห็นว่า มีปุ่ม Keyboard.. เพื่อให้คุณสามารถกำหนด Shortcut Key ได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อคุณกดปุ่มนี้ คุณจะสามารถทำการกำหนดว่า จะใช้ Shortcut Key ไหนในการเรียนใช้งานแมโคร


และหน้าที่ของคุณในการนำแมโครดังกล่าวไปใส่ใน Toolbar ก็คือว่า ให้คุณทำการ Drag Mouse ที่แมโครที่คุณสร้างขึ้นนี้ เอาไปวางในตำแหน่งของ Toolbar ตามที่คุณต้องการดังรูปข้างล่าง


คุณจะเห็นว่าปุ่มนั้น มีขนาดที่ใหญ่เกะกะ ดังนั้น วิธีการแก้ไขคือว่าให้คุณคลิกขวาที่ปุ่มนี้ต่อเลย และ ช่อง Name: คุณอาจจะเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงก็ได้ หรือว่าคุณจะเลือกเป็น Default Style ดังรูป
จากนั้นก็ Close หน้าต่าง Customize ไปก็เป็นอันเรียยร้อย คุณจะได้รูปเครื่องมือ ที่มีลักษณะดังรูปนี้


7. วิธีการใช้งานแมโคร วิธีใช้ก็คือว่าหลังจากที่คุณ Select ข้อความที่เป็นหัวข้อ ตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว ให้คุณคลิกปุ่ม ที่ Toolbar ที่คุณได้สร้างขึ้นมา และคุณจะเห็นว่า การทำงานต่างๆ ที่เก็บการปรับเปลี่ยน Font โปรแกรมก็จะทำงานให้คุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งหาคุณมีหลายๆ หัวข้อ คุณก็แค่เพียงแต่ทำการ Select หัวข้อนั้นๆ และกดปุ่มดังกล่าว ก็จะเป็นการประหยัดเวลาให้คุณ
8. ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็น เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้งานแมโครน และในบทความนี้ ได้ยกตัวอย่างการทำงานง่ายๆ เพื่อให้คุณได้มองเห็นภาพและนำไปประยุกค์ใช้ในงานอื่นๆ แล้วแต่คุณ


ประวัติภาษาซี

ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร

ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้


ฟังก์ชั่น printf()
ฟังก์ชั้นนี้เราได้ทดลองใช้อย่างง่ายๆ มาแล้ว โดยใช้สำหรับแสดงข้อความหรือตัวแปร
ฟังก์ชั่น printf() มีชื่อเต็มว่า print format เป็นฟังชั่นใช้พิมพ์ข้อความต่างๆออกทางจอภาพโดยมีรูปแบบดังนี้
รูปแบบคำสั่ง printf



ตัวกำหนดชนิดข้อมูล

%c แทนตัวอักษร
%d แทนเลขจำนวนเต็ม
%e แทนเลขในรูปเอกซ์โพเนนเชียล (exponential form)
%f แทนเลขทศนิยม
%0 แทนเลขฐานแปด
%s แทนสตริงก์
%u แทนเลขจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย
%x แทนเลขฐานสิบหก
%p แทนข้อมูลแบบพอยน์เตอร์ (pointer)


สามารถดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดชนิดข้อมูลอื่นๆได้โดย โมดิฟายเออร์ (modifier) l,h และL โมดิฟายเออร์ l จะสามารถใช้กับตัวกำหนดชนิดข้อมูล %d, %o , %u และ %x เพื่อใช้กับข้อมูลชนิดยาวเช่น %ld หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มยาวโมดิฟายเออร์ h จะใช้ในลักษณะเดียวกันกับข้อมูลชนิดสั้น เช่น %hd หมายถึง ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสั้นสำหรับข้อมูลชนิดทศนิยมจะมีโมดิฟายเออร์ l และ L โดย l จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า ส่วน L จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงรายละเอียด 2 เท่า เช่น %lf หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า

ตัวอย่าง

#include "stdio.h"
#include "conio.h"
main()
{
int x,y;
x=5;
y=6;
printf("%d\n",x);
printf("%c\n",x);
printf("%d %d\n",x,y);
printf("%d\n"125);
printf("%c\n"125);
printf("The total is $ %6.2f\n",12.5);
printf("The total is $ %6.3f\n",12.5);
}


ฟังก์ชัน scanf()

ฟังก์ชั่นนี้จะตรงข้ามกับฟังก์ชั่น printf() โดยจะใช้อ่านค่าจากการกดป้นพิมพ์ที่อยู่ในรูปรหัส ASCII ไปเก็บในตัวแปรที่กำหนด และสามารถใช้เป็นรหัสควบคุมหรือ Control stringระบุชนิดของข้อมูลที่จะเก็บในตัวแปรได้

รูปแบบของคำสั่งนี้เป็นดังนี้



ตัวอย่าง

#include "stdio.h"
#include "conio.h"
main()
{
int feet,inches;
printf("Enter number of feet");
scanf("%d",&feet);
inches = feet*12;
printf("%d inches ",inches);
}



ฟังก์ชัน getchar()

getchar() รับข้อมูลตัวอักขระหนึ่งตัวเมื่อป้อนข้อมูลแล้วต้องกดรูปแบบของคำสั่งเป็นดังนี้



เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()

ตัวอย่าง



#include"stdio.h"
#include"conio.h"
main()
{
int number1,number2;
printf("please input number1:");
scanf("%d",&number1:);
printf("please input number2:");
scanf("%d",&number2:);
printf("%d+%d=%d",number1,number2,number1+number2);
getchar();
getchar();
}


ฟังก์ชัน getche() และ getch()
รูปแบบของฟังก์ชั่น

ch = getche(); ch = getch();
ฟังก์ชัน getche() จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์ และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม



ฟังก์ชัน gets()
ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบของฟังก์ชั่น

เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์ stdio.h

ตัวอย่าง

#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}


ชื่อ : นางสาวนงลักษณ์ ต๊ะสาริกา
ชื่อเล่น : ก้อย

ชั้น : ปวช. 2/3 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ : วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี






บล็อก ช.2/3

About this blog